แนวโน้มของโลกเราในอนาคต จะมีจำนวนประชากรบนโลกเพิ่มขึ้น และมีสัดส่วนของประชากรผู้อยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น จากแนวโน้มที่ได้กล่าวมาทำให้เมืองใหญ่ที่ต่างๆ ในโลก มีการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเมือง การจัดวางผังเมือง แจ้งเตือนภัยพิบัติ และประโยชน์ในด้านอื่นๆ ในบทความนี้จะพาไปดูแต่ละองค์ประกอบของ Smart City ว่ามีอะไรบ้าง และมีประโยชน์-ข้อคำนึงอย่างไรบ้าง
Smart City คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ คือเมืองที่มีการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภายในเมือง และนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชน นอกจากจะทำให้เมืองมีความทันสมัย มีสะดวกสบายขึ้น ยังช่วยลดค่าใช้จ่าย หรือทรัพยากรของเมืองได้ ซึ่งจะลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น เมืองน่าอยู่ขึ้น สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยองค์ประกอบของ Smart City ประกอบไปด้วยด้านต่างๆ ดังนี้
1. พลเมืองอัจฉริยะ (Smart Citizens)
พลเมือง และผู้บริหารเมือง จะได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ หรือทักษะต่างๆ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งนวัตกรรมที่หลากหลาย ส่งผลให้ใน Smart City มีความหลากหลายทางสังคมมากขึ้น และความเหลื่อมล้ำทางสังคมลดลง
2. การบริหารของรัฐบาลอัจฉริยะ (Smart Government)
การบริหารของรัฐบาลในเมืองอัจฉริยะ จะมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มความรวดเร็วแก่ประชาชนในการเข้าถึงบริการของภาครัฐ อีกทั้งประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ ทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
3. โรงงานอัจฉริยะ (Smart Manufacturing)
Smart Factory โรงงานอัจฉริยะ คือ ระบบโรงงานที่ผสมผสานเทคโนโลยี Automation เข้ากับ IoT และ AI ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุน ลดแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต หรือเพิ่มจำนวนการผลิตได้ ยกตัวอย่างเช่น dIA Smart Factory มีระบบตรวจจับใบหน้า ระบบสัญญาณแจ้งเตือนพื้นที่หวงห้าม ระบบแจ้งเตือนกรณีอุปกรณ์เกิดความเสียหาย สามารถควบคุมเครื่องจักรได้จากระยะไกล ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ทำให้ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และสามารถตรวจสอบการทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น
4. อาคารและสถานที่อัจฉริยะ (Smart Buildings)
Smart City ในอนาคต ประชากรจะพำนักอยู่ในอาคารเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นอาคารจะต้องมีระบบอัจฉริยะเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย dIA Smart Office มีระบบแจ้งเตือนกรณีมีบุคคลต้องสงสัยเข้ามาในพื้นที่ ระบบเปิดปิดประตูอัตโนมัติซึ่งใช้ประโยชน์จากระบบจดจำใบหน้า สามารถตรวจจับ และวิเคราะห์ใบหน้าได้ รวมถึงมีระบบลงเวลาการทำงาน สามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นใคร เข้าทำงานเวลาใด และอยู่ที่ไหนในอาคาร
5. เกษตรกรรมอัจฉริยะ (Smart Agriculture)
เกษตรกรรมอัจฉริยะ คือ การทำการเกษตรรูปแบบใหม่ในเมืองอัจฉริยะ ที่นำข้อมูลต่างๆ และเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการบริหารงาน เพื่อหาวิธีการทำงานที่เหมาะสม ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง สามารถลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น ลดขั้นตอนการทำงาน ลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้สร้างผลผลิตได้อย่างยั่งยืน พร้อมวิเคราะห์สภาพอากาศ และค่าดินได้อีกด้วย
6. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)
เศรษฐกิจอัจฉริยะ คือ Smart City ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจ มีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ยังช่วยผลักดันเมืองให้โดดเด่นในธุรกิจด้านใดด้านหนึ่ง โดยขึ้นกับนวัตกรรม และความเหมาะสมของเมืองนั้นๆ
ยกตัวอย่างเช่น การใช้บริการ dIA Smart Hotel/Restaurant ในการบริหารจัดการ เก็บข้อมูลทุกรายละเอียดความชอบ หรือประวัติการใช้บริการของลูกค้า ในธุรกิจประเภทโรงแรม และร้านอาหาร เพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะสร้างความประทับใจ หรือ การใช้บริการ dIA Smart Retail ในการขายสินค้า และบริการ สำหรับธุรกิจค้าปลีก ซึ่งจะช่วยส่งข้อมูลให้กับลูกค้าได้สะดวกขึ้น ปลอดภัยขึ้น ทำให้กระบวนการซื้อเร็วขึ้น
7. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เน้นปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพ และเฝ้าติดตามสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และภูมิอากาศ เช่น ระบบจัดการน้ำ ระบบดูแลสภาพอากาศ และระบบการเฝ้าระวังภัยพิบัติ ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ Smart City เติบโตได้อย่างยั่งยืนยาวนาน
8. สุขภาพและการรักษาอัจฉริยะ (Smart Health)
โรงพยาบาล และสถานพยาบาลมีการให้บริการทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการใช้ระบบฐานข้อมูลเพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการรักษาเป็นไปได้อย่างราบรื่น ส่งผลให้ประชากรได้รับบริการทางสุขภาพที่ดีขึ้น อีกทั้งยังลดการใช้ทรัพยากรในสมาร์ทซิตี้ dIA Smart Hospital มีระบบการลงทะเบียนสำหรับผู้ป่วย การรับรองความถูกต้องด้วยระบบการจดจำใบหน้า ระบบการแจ้งเตือนกรณีฉุกเฉิน และระบบการวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้การรักษาอัจฉริยะมีประสิทธิภาพขึ้นไปอีกขั้น
9. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
พลังงานเป็นทรัพยากรหนึ่งที่มีคุณค่ามาก เมืองที่มีการบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะจะสามารถจัดการด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสมดุลกันระหว่างการผลิตพลังงาน และการนำพลังงานไปใช้ ซึ่งสามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงาน รวมถึงเน้นการใช้พลังงานสะอาด หรือพลังงานทางเลือก เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า
10. ระบบการขนส่งและคมนาคมอัจฉริยะ (Smart Transportation)
ระบบการขนส่ง และคมนาคมอัจฉริยะใน Smart City จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตาม และวิเคราะห์การจราจรบนท้องถนน เพิ่มประสิทธิภาพไฟถนน เพื่อป้องกันการจราจรไม่ให้แออัดจนเกินไปในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน รวมถึงสามารถกำหนดเส้นทางการเดินรถ อัตราการใช้เชื้อเพลิง ดูรายงานต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาทำให้คนในเมือง Smart City สามารถประเมินการขับขี่เพื่อลดอันตราย และอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้
11. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)
การดำรงชีวิตอัจฉริยะ คือเมืองที่สนับสนุนการบริการที่อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตแก่ประชาชน โดยใช้นวัตกรรมต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้ทุกเพศทุกวัย เช่น บริการด้านสุขภาพที่คำนึงถึงสุขภาวะที่ดีของประชาชน การมีระบบเฝ้าระวังภัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับการใช้ในชีวิตประจำวัน
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีที่สำคัญในการสร้างเมืองอัจฉริยะ
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีระบบการทำงานได้เหมือนกับมนุษย์ สามารถที่จะเรียนรู้ ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล วางแผน แก้ไขปัญหาต่างๆ และเลียนแบบกิจกรรมของมนุษย์ได้ โดยเทคโนโลยี AI สำคัญที่ใช้ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ มีดังต่อไปนี้
ระบบจดจำใบหน้าอัจฉริยะ (Smart Recognition)
ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ (Smart Analytic)
โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)
ระบบไอซีทีอัจฉริยะ (Smart ICT)
ประโยชน์และข้อควรคำนึงของเมืองอัจฉริยะ
การสร้างเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City มีข้อดีข้อเสีย หรือข้อที่ต้องคำนึงถึงที่ควรนำมาพิจารณา ดังนี้
ประโยชน์ของเมืองอัจฉริยะ
ตัวอย่างของเมืองอัจฉริยะในปี 2023-2024
การสร้างเมืองอัจฉริยะ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในเมืองดีขึ้น การบริหารจัดการเมืองในด้านต่างๆ ก็ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันมีหลายเมืองที่กำลังทำ Smart City และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไปดูกันว่ามีเมืองไหนบ้าง
นิวยอร์ก (New York)
โตเกียว (Tokyo)
สิงคโปร์ (Singapore)