ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของผู้คนอย่างมาก เพราะช่วยอำนวยความสะดวก ให้สามารถจัดการงานต่างๆ และใช้ชีวิตได้สะดวกสบายขึ้น นอกจากนี้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเหล่านี้ ก็ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้ กับการจัดการภายในโรงพยาบาลอีกด้วย หรือที่เรียกกันว่า Smart Hospital ระบบ HIS ที่สามารถปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของโรงพยาบาล เป็นการยกระดับโรงพยาบาล ด้วยบริการที่รวดเร็ว ทั่วถึง และแม่นยำ
Smart Hospital คืออะไร ทำไมจึงเรียกว่า โรงพยาบาลอัจฉริยะ
Smart Hospital หมายถึง ระบบโรงพยาบาลอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาปรับใช้กับระบบต่างๆ ภายในโรงพยาบาลภาครัฐ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเทคโนโลยีที่กล่าวมา จะอยู่ในลักษณะของ รูปแบบ AI และระบบดิจิทัล เพื่อช่วยกระบวนการวิเคราะห์ที่แม่นยำ สามารถเชื่อมต่อระบบข้อมูลพื้นฐาน ระหว่างโรงพยาบาล หรือคลินิกได้ รวมถึง การจัดการระบบการต่างๆ ภายในโรงพยาบาล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ภายในโรงพยาบาล
Smart Hospital จึงเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย ทำให้ประหยัดเวลา และเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับคนไข้ที่เข้ารับการบริการ โดย Smart Hospital ประกอบไปด้วย Smart Tools, Smart Place/Infrastructure, Smart Services และ Smart Outcome
ระบบ HIS เปลี่ยนโรงพยาบาลธรรมดาให้เป็น Smart Hospital ได้อย่างไร
ระบบ HIS (Hospital Information Systems) คือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในโรงพยาบาล มีระบบการทำงาน ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาประยุกต์ใช้กับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ภายในโรงพยาบาล เปลี่ยนโรงพยาบาลธรรมดาให้กลายเป็น Smart Hispital ได้ด้วยการอำนวยความสะดวก ในด้านของการรักษาพยาบาล เพื่อให้แพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ จากฐานข้อมูลโรงพยาบาล คลินิกเฉพาะทาง หรือสถานบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนในการรักษา และการประเมินการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยได้รวดเร็ว
รวมถึงใช้ในการดำเนินงานของแต่ละแผนกภายในโรงพยาบาล ให้เกิดระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และประสานงานกับฝ่ายอื่นๆ ภายในโรงพยาบาล เช่น ระบบเวชระเบียน ระบบตรวจรักษา ระบบตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระบบงานเอกซเรย์ ระบบงานโภชนาการ ระบบเภสัชกรรม ระบบสังคมสงเคราะห์ ระบบบุคลากร ระบบงานคลัง ระบบการเงิน และ ระบบบำรุงรักษา เป็นต้น
ระบบ HIS ช่วยพัฒนาด้านใดบ้าง
การทำงานของ ระบบ HIS มีประโยชน์และคุณสมบัติในด้านต่างๆ มากมายที่ช่วยให้การทำงานของบุคลากรทางการแพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังต่อไปนี้
ด้านการรักษา ตรวจอาการทั่วไป
การรักษา หรือการตรวจอาการ คือ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น ว่ามีอาการผิดปกติอะไรบ้าง ลักษณะการทำงานของระบบ HIS คือ มีการจัดเก็บ และบันทึก ประวัติการรักษา ข้อมูลของคนไข้ รวมถึงข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อแพทย์ ต้องการใช้ข้อมูลของคนไข้ เพื่อทำการวินิจฉัยอาการ หรือทำการรักษา ระบบ HIS ก็จะดึงฐานข้อมูลของคนไข้ จากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล หรือสถานบริการสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาใช้ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว และถูกต้องได้ รวมถึง การสั่งตรวจ และการสั่งยาผ่านระบบออนไลน์ ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้กับ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มาใช้สำหรับการจัดลำดับคิว การตรวจสอบสิทธิ์รักษาพยาบาลเบื้องต้นได้เช่นกัน
ด้านแผนกฉุกเฉิน
สำหรับแผนกฉุกเฉิน คือ แผนกที่ให้บริการ และดูแลรักษาพยาบาล เกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บกะทันหัน จากอุบัติเหตุ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต ซึ่งการทำงานหลักๆ ขอกระบบ HIS คือ การออกเลขประจำตัวผู้ป่วย บันทึกทางการพยาบาล (Nurse Note) รวมถึงทำงานเกี่ยวกับการผ่าตัด การตรวจวินิจฉัย โดยแพทย์ หรือบุคลากร จะนำระบบ HIS มาใช้สำหรับบันทึกประวัติคนไข้ บันทึกพร้อมประเมินอาการเจ็บป่วย และสัญญาณชีพ ใช้สำหรับการตรวจทางห้องแล็บ เพื่อตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ การวินิจฉัยอย่าง X-Ray หรือ การอัลตราซาวนด์ เป็นต้น
ด้านการจัดทำรายงาน สรุปผล
คุณสมบัติของระบบ HIS เกี่ยวกับการทำรายงาน และการสรุปผล คือระบบแสดงข้อมูล เกี่ยวกับขั้นตอนการรักษาของคนไข้ ให้ญาติได้รับทราบ พร้อมทั้งช่วยให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทราบเกี่ยวกับสถานะของผู้เข้ารับการรักษา และยอดผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน ลักษณะการทำงาน คือ แสดงผลเป็นข้อมูลสถานะต่างๆ ที่เข้าใจง่าย ทำให้แพทย์หรือบุคลากรนำระบบ HIS มาใช้ในการประเมินผล สรุปผล เกี่ยวกับผู้เข้ารับการรักษาได้ ทั้งการสรุปจำนวนคนไข้จากเพศ อายุ ในสัดส่วนต่อวัน เดือน หรือปี สรุปจำนวนคนไข้ที่เข้ารับการรักษาประเภทต่างๆ เช่น เจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ สรุปจำนวนคนไข้ที่ใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลต่างๆ ตลอดจนข้อมูล รายงาน จากการผ่าตัด การทำหัตถการ การให้ยา เพื่อสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ ไปวางแผนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้รองรับการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านความปลอดภัย
คุณสมบัติข้อสุดท้ายของระบบ HIS ในโรงพยาบาล คือ เรื่องของความปลอดภัย เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลต่างๆ ซึ่งระบบจะทำงาน โดยการจำกัดสิทธิ์ผู้ใช้งาน ให้เข้าถึงระบบที่จำเป็น และจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงของข้อมูลทางธุรกิจ โดยแพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรอื่นๆ สามารถใช้ระบบ HIS สำหรับทำงาน ได้โดยทำเอกสารระบุสิทธิ์ผู้ใช้งาน ในการจัดการข้อมูลต่างๆ เช่น อ่าน แก้ไขข้อมูล หรือการพิมพ์ข้อมูล สามารถกำหนดการเข้าสู่ระบบ ของพยาบาล ในการให้ยา และจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงกลุ่มข้อมูล รายกลุ่ม หรือรายบุคคลได้
Smart Hospital มีข้อได้เปรียบกว่าโรงพยาบาลปกติอย่างไร
ระบบโรงพยาบาลแบบ Smart Hospital ด้วย DIA SMART HOSPITAL มีข้อแตกต่างจากโรงพยาบาลปกติ คือ เป็นโรงพยาบาลที่นำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการบริการทางการแพทย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการทำงานของบุคลากร และผู้เข้ารับการรักษา ด้วยวิธีการลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น ลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพิ่มประช่วยให้การบริการสุขภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จุดเด่นของ dIA Smart Hospital คือ การใช้ Smart Sensor RPA (Robotic Process Automation) เป็นซอฟต์แวร์ระบบอัตโนมัติ จาก กล้อง IP ทำงานร่วมกับ AI จึงเหนือกว่าในเรื่องของการบริการ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลารอคิวลงทะเบียน และสามารถส่งตัวเข้ารักษาได้ทันที
ให้บริการคนไข้ และดูแลอย่างทั่วถึง
เนื่องจาก โรงพยาบาลแบบ Smart Hospital ที่มีการใช้ระบบ HIS ที่เป็นเทคโนโลยี ที่ช่วยในการทำงาน และการบริการต่างๆ ภายในโรงพยาบาล จึงสามารถ บริการคนไข้ ดูแลคนไข้ได้อย่างทั่วถึง ลดระยะเวลา เพิ่มความรวดเร็วให้กับการเข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็น การลงทะเบียน หรือกรอกประวัติออนไลน์ การจัดลำดับคิวออนไลน์ ระบบการนัดหมายคนไข้ล่วงหน้า รวมถึงการลงทะเบียนผ่าน ตู้คีออส (Kiosk) ลดระยะเวลาการต่อคิวที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียน และสามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง ด้วยกล้อง IP ที่มาพร้อมระบบการทำงานของ DIA SMART HOSPITAL ในการสแกนใบหน้า เพื่อตรวจสอบใบหน้าจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล และสามารถบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลได้
ดำเนินการประสานงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยี Smart Hospital ที่ใช้ระบบ HIS ทำให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สามารถประสานงานกับฝ่ายอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว จึงลดระยะเวลาการทำงานของบุคลากร และขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น ทั้งการจัดระบบคิวการรักษา ระบบส่งตัวคนไข้เข้ารับการรักษา อุปกรณ์การแพทย์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับระบบ HIS ซึ่งระบบเหล่านี้ จะเพิ่มการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการแก่คนไข้ได้ดียิ่งขึ้น
ลดการใช้กระดาษ ลดงบประมาณ
รูปแบบของ Smart Hospital ระบบ HIS เป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เป็นข้อได้เปรียบ ในการลดขั้นตอนการทำเอกสาร เนื่องจากคนไข้ไม่ต้องใช้กระดาษสำหรับลงทะเบียน สามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างสะดวก และเรียกดูฐานข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เช่นข้อมูลสุขภาพของคนไข้ บันทึกประวัติการรักษา รวมถึงใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และช่วยลดงบประมาณที่ไม่จำเป็นอีกด้วย
ง่ายต่อการจัดเก็บ หรือค้นหาข้อมูลคนไข้
อย่างที่ทราบว่า Smart Hospital จะใช้ระบบ HIS สำหรับการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบแบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อมีคนไข้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แพทย์ หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สามารถค้นหาข้อมูลของคนไข้ จากฐานข้อมูลที่มีได้รวดเร็ว
ตัวอย่างโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
โรงพยาบาลอัจฉริยะ หรือ Smart Hospital อาจจะดูเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับประเทศไทย แต่เป็นสิ่งที่ทำได้จริง เพราะมีโรงพยาบาลหลายๆ แห่งที่เริ่มนำระบบนี้มาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพของการตรวจวินิจฉัย อำนวยความสะดวกให้แก่คนไข้ เพื่อให้ได้รับการบริการที่ดี ปลอดภัย และมีคุณภาพ โดยโรงพยาบาลที่ได้นำระบบ Smart Hospital มาปรับใช้ในการบริการ ยกตัวอย่างโรงพยาบาลอัจฉริยะในประเทศไทย ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลวิมุต โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสมุทรปราการ และโรงพยาบาลชลบุรี