เมื่อในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น การเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นทั้งเรื่องของการบริการ และการสื่อสารต่างๆ ซึ่งทำให้ใครหลายคนเริ่มหวั่นใจว่า AI จะเข้าทำงานแทนคนหรือไม่ ในบทความนี้ ทาง dIA จะพามาไขข้อข้องใจว่า AI จะมาทำงานแทนคนได้จริงไหม แล้ว AI จะเป็นอย่างไรในอนาคตอันใกล้

AI คืออะไร ทำงานอย่างไร

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำนวณ และทำงานได้เหมือนกับมนุษย์ในบางอย่าง รวมถึงการเลียนแบบกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา การประมวลผล การจำลองความคิด การเข้าใจในภาษาแบบมนุษย์ และอื่นๆ อีกมากมาย

โดย หลักการการทำงานของ AI นั้น

  • ขั้นตอนแรกคือการป้อนข้อมูล วิศวกรจะต้องรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ AI ซึ่งอาจจะเป็นรูปภาพหรือคำพูดก็ได้ สิ่งสำคัญคือต้องมั่นใจว่าอัลกอริทึมสามารถอ่านข้อมูลที่ป้อนเข้าไปได้ และต้องกำหนดบริบทของข้อมูลและผลลัพธ์ที่ต้องการให้ชัดเจน
  • หลังจากนั้น AI จะทำการประมวลผล โดย AI จะตีความข้อมูลที่ตั้งโปรแกรมเอาไว้ล่วงหน้า และใช้พฤติกรรมที่ได้เรียนรู้มาและจดจำรูปแบบพฤติกรรมในข้อมูลนั้น
  • เมื่อประมวลผลเสร็จแล้ว ก็จะคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าข้อมูลที่ได้มา การคาดการณ์จะบอกได้ว่าสิ่งนั้นจะล้มเหลวหรือว่าสำเร็จ
  • หลังจากนั้น หากข้อมูลที่ได้มาผลลัพธ์คือไม่สำเร็จ AI จะสามารถเรียนรู้ข้อผิดพลาด และทำซ้ำขั้นตอนที่แตกต่างออกไปจากเดิม ขั้นตอนนี้จึงเป็นการที่อัลกอริทึมทำการปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับชุดข้อมูลนั้นๆ
  • ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อ AI ทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายแล้ว AI จะทำการประเมิน โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลอนุมาน และคาดการณ์ได้ รวมถึงสามารถให้ข้อเสนอแนะที่จำเป็นและเป็นประโยชน์อีกด้วย

นอกจากนี้ AI สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากๆ และมีความรวดเร็วในการตอบโต้อัตโนมัติได้มากกว่ามนุษย์ทำให้ในหลายภาคส่วนนำ AI มาใช้เป็นตัวช่วยในการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจ และอุตสาหกรรมที่มีระบบอัตโนมัติเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานที่ต้องอาศัยการเก็บรวมรวบข้อมูลจำนวนมาก  ด้วยเหตุผลนี้จึงมีการใช้ AI เพื่อประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในระยะเวลาเพียงนิดเดียว รวมถึงให้ AI เรียนรู้ และแก้ไขปัญหาต่างๆจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อช่วยลดการทำงานของคนได้ อีกทั้งยังดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดได้อีกด้วย AI มีประโยชน์อย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การเลือก AI ให้เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ

อาชีพที่มีโอกาสถูก AI เข้ามาแทนที่

เมื่อเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามา การทำงานในบางอย่างอาจจะไม่ต้องพึ่งพาอาศัยมนุษย์ AI จึงเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ในแวดวงธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก จึงมีการนำ AI มาทำงานแทนคน ซึ่งเรามาลองดูอาชีพที่มีโอกาสถูก AI จะเข้ามาแทนที่ มีดังนี้

1. พนักงานบริการ

บทบาทในการบริการแบบอัตโนมัติเริ่มมีมากขึ้น เนื่องจากมีเครื่องมืออำนวยความสะดวก โดยไม่ต้องใช้มนุษย์ หลักๆ ที่จะเห็นกันเป็นประจำ เช่น แชทบอท หรือหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร ซึ่งเสมือนได้ให้บริการลูกค้าได้ในวงกว้าง และรวดเร็ว หรือความก้าวหน้าในเรื่องการชำระเงินด้วยตนเอง ทำให้คนงานที่เป็นมนุษย์น้อยลง

2. พนักงานโรงแรม

เช่นเดียวกับพนักงานโรงแรม ทั้งพนักงานต้อนรับ หรือบริการอื่นๆ ในการให้บริการลูกค้าสามารถทำได้อัตโนมัติ การตอบคำถาม หรือตอบรับคำขอของลูกค้าจะมีความรวดเร็วมากกว่า เช่น ในหลายๆ โรงแรม ได้เปลี่ยนพนักงานต้อนรับเป็น AI เกือบแทบทั้งหมดแล้ว เพราะสามารถดู ฟัง เข้าใจ และพูดคุยกับแขก ลูกค้าได้

3. นักแปล

ในปัจจุบันระบบการแปลภาษาจาก AI นั้นพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ทุกคนจึงไม่ค่อยได้พึ่งการเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือพึ่งนักแปล แต่พึ่งพาแอปพลิเคชันแปลกันอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชันที่สามารถฟังเสียง และแปลภาษานั้นๆ เวลาเราไปเที่ยว เป็นต้น ถึงแม้ว่า AI จะยังไม่สามารถเรียบเรียงประโยคได้อย่างถูกต้อง แต่มีโอกาสที่นักแปล หรือล่ามจะถูก AI แทนที่ได้ในอนาคต

4. โปรแกรมเมอร์

เครื่องมือ AI เจเนอเรชัน เช่น ChatGPT และ bard ทำให้เกิดคำถามว่า AI จะมาแทนที่การเขียนหนัก ๆ ได้หรือไม่ แม้ภาษาของมนุษย์เราจะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ แต่ในการเขียนโปรแกรมประกอบไปด้วยภาษาที่มีโครงสร้างที่ชัดเจนมากกว่า ChatGPT ซึ่งสามารถใช้ในการเขียนโค้ดได้ ดังนั้น ในไม่ช้าการเขียนโปรแกรมอาจจะใช้ระบบอัตโนมัติในไม่ช้า

5. คนขับรถขนส่ง

AI สามารถวิเคราะห์เส้นทาง และสภาพการจราจร เพื่อเลือกเส้นทางที่สั้น และสะดวกมากที่สุด รวมถึง AI สามารถติดตามเส้นทางการขับรถ เพื่อตรวจสอบ และป้องกันการขับรถออกนอกเส้นทาง หรือกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งให้ไปถึงจุดหมายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย นอกจากนี้ปัจจุบัน AI จะสามารถทำให้ยานพาหนะขนส่งเป็นระบบอัตโนมัติ มีแนวโน้มว่าในอนาคต การขนส่งจะอยู่ในรูปแบบยานยนต์ไร้คนขับ ซึ่งอาจจะมาแทนที่พนักงานขับรถได้

6. นักออกแบบ

นักออกแบบต้องเจอกับการแข่งขันโดยตรงกับงานศิลปะที่สร้างสรรค์โดย AI ปัจจุบัน หลายๆ คนน่าจะเคยได้เห็นแอปพลิเคชันที่สามารถนำรูปคนมาแปลงเป็นภาพการ์ตูน โดย AI จะทำการวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ แล้วผลิตงานศิลปะแบบสุ่มให้ชม AI สามารถสร้างภาพระดับมืออาชีพให้เป็นเรื่องานโดยไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะ ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ อาจพึ่งพาการออกแบบโดยมนุษย์น้อยลง เพื่อสร้างภาพที่โดดเด่นกว่าในอนาคต

7. นักวิเคราะห์ด้านการเงิน

AI มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ทั้งวิเคราะห์ข้อมูลการยื่นกู้ การประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ยื่นกู้ หรือเป็นผู้ช่วยในการประเมินความเสี่ยง และตรวจสอบเส้นทางการเงินต่างๆ เพื่อป้องกันการทุจริตได้นอกจากนี้ AI ยังสามารถรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล ซึ่งจะช่วยทำนวยความสะดวกให้แก่ธนาคารในการนำข้อมูลมาประเมินลูกค้าของธนาคารได้อย่างแม่นยำมากขึ้น มีโอกาสเป็นอาชีพที่ AI จะมาแทนได้

8. นักกฎหมาย

ในหน่วยงานกฎหมายหลายแห่งได้ใช้ความสามารถ AI ในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนจำนวนมหาศาล ซึ่ง AI สามารถเขียนรายงานทางกฎหมาย รวบรวมข้อเท็จจริงสำหรับคดีนั้น และจัดเรียงเอกสาร รวมถึงสามารถดำเนินการวิจัยทางกฎหมายได้อีกด้วย

ในสหรัฐอเมริกา มีแอปพลิเคชัน “DoNotPay” ซึ่งเป็น หุ่นยนต์นักกฎหมายตัวแรกของโลก เป็นหุ่นยนต์​ Chatbot ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย สามารถกรอกข้อมูลและส่งเอกสารทางกฎหมายให้กับผู้ใช้งาน เช่น เอกสารที่ใช้ในการดำเนินคดี

9. พนักงานบัญชี

ในหลายๆ บริษัทส่วนใหญ่ทั่วโลก ใช้ระบบ AI ในการทำบัญชี โดย AI จะมอบระบบบัญชีที่มีประสิทธิภาพได้มากกว่าคน ทั้งเรื่องความละเอียดของข้อมูลทั้งหมด และความปลอดภัย การใช้อัลกอริทึม AI ช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกรวบรวมจัดเก็บ และวิเคราะห์อย่างถูกต้อง และที่สำคัญการใช้บริการบัญชี AI ใช้ต้นทุนน้อยกว่าการจ่ายเงินเดือนพนักงานที่เป็นมนุษย์

ข้อจำกัดของ AI กับอาชีพที่ AI ทำไม่ได้

ถึงแม้ AI จะสามารถทำงานแทนคนได้มากมาย แต่ AI ก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้เช่นกัน หลักๆ แล้วงานที่ต้องมีการใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ AI จะไม่สามารถทำหน้าที่ตรงนี้ได้ โดยอาชีพที่ AI แทนไม่ได้ มีดังนี้

1. ครู / อาจารย์

แม้ว่า AI จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์ แต่อาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยการสร้างความไว้วางใจ และความใกล้ชิด ซึ่ง AI ไม่สามารถมีความรู้สึกร่วม หรือทำความเข้าใจด้านอารมณ์ได้ดีเท่าครูที่เป็นมนุษย์ และครูที่เป็นมนุษย์พร้อมรับมือข้อโต้แย้ง หรือการเข้าถึงผู้ปกครองของนักเรียน และสามารถจัดการกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อนอื่นๆ ได้

2. นักสังคมสงเคราะห์

งานของนักสังคมสงเคราะห์ เป็นงานที่ต้องมีส่วนร่วมกับมนุษย์ และมักจะทำกับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาส หรือกลุ่มเสี่ยงซึ่งงานเหล่านี้ต้องใช้ดุลยพินิจและการตัดสินใจของมนุษย์ การเข้าอกเข้าใจสถานการณ์เฉพาะของผู้คน และการช่วยเหลือให้พวกเขารับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ตึงเครียดได้ การมีความเห็นอกเห็นใจ และรับมือกับอารมณ์ต่างๆ ซึ่งมนุษย์สามารถทำได้ดีกว่าปัญญาประดิษฐ์

3. อัยการ

แม้ว่า AI จะมีส่วนสำคัญในภาคกฎหมาย แต่ยังไม่สามารถแทนที่อัยการได้ เพราะอัยการต้องใช้ความเข้าใจในด้านคุณธรรมและจริยธรรมอย่างเหนียวแน่น ส่วน AI ยังไม่สามารถรู้สึกได้ว่าอะไรถูกหรืออะไรผิดเท่ามนุษย์ และงานในด้านกฎหมายยังต้องอาชีพการคิดวิเคราะห์ที่ซับซ้อนจากข้อมูลสำคัญๆ มากมาย เพื่อนำมาดูภาพรวมของคดี

4. ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล

อาชีพด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล ต้องใช้กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในระดับที่สูง ทั้งการสรรหา การสัมภาษณ์ และการเตรียมความพร้อม แม้ AI จะเป็นประโยชน์สำหรับการคัดกรอง resume ต่างๆ แต่ยังไม่มีความละเอียดและรอบคอบพอในการนำสถานการณ์ต่างๆ เช่น การเลิกจ้าง ตอบคำถามเกี่ยวกับสวัสดิการ และการรับฟังข้อร้องเรียนของพนักงาน AI ยังไม่สามารถทำหน้าที่ตรงนี้แทนได้

5. บุคลากรทางการแพทย์

งานด้านการดูแลสุขภาพ เป็นการโต้ตอบกันแบบเห็นหน้า ซึ่งการสัมผัสของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลผู้ป่วยข้างเตียง การสนทนาอย่างจริงจังกับครอบครัว รวมถึงการบรรเทาความกลัวของผู้ป่วย ล้วนเป็นสถานการณ์ที่บุคลากรทางการแพทย์ จำเป็นต้องใช้มากกว่า AI อาจทำงานในเรื่องอื่นๆ แทน เช่น การขนส่งเวชภัณฑ์ หรือการดึงข้อมูลผู้ป่วย

6. นักบำบัด

นักบำบัด เป็นงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านอารมณ์สูง ต้องอาศัยการเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจในอารมณ์ของมนุษย์ ซึ่ง AI ไม่สามารถทดแทนได้เลย โดยนักบำบัดจะต้องรับฟังปัญหาของแต่ละเคส และให้คำชี้แนะแก่พวกเขา ขณะที่พวกเขาไม่สามารถจัดการกับความรู้สึก ความคิด และการตอบสนองทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่ง AI ยังไม่สามารถทำความเข้าใจแง่มุมนี้ของมนุษย์ได้มากขนาดนี้ ยิ่งในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตมีเพิ่มมากขึ้น การบำบัดโดยมนุษย์จึงมีความสำคัญมากกว่า จึงเป็นอาชีพที่ AI แทนไม่ได้

7. นักเขียน

งานเขียนถือเป็นงานศิลปะที่มีจินตนาการมากเป็นพิเศษ อาชีพนักเขียนจะต้องอาศัยการตัดสินใจโดยอ้างอิงจากความชอบและความต้องการของผู้อ่าน หรือกลุ่มเป้าหมาย และต้องใช้ความสามารถในการจัดวางคำศัพท์เฉพาะเจาะจงตามลำดับที่ถูกต้อง แม้ว่า AI จะสามารถช่วยในการสร้างไอเดียได้ แต่ลักษณะเฉพาะของการเขียนและภาษาที่สวยงามของมนุษย์นั้นยากกว่ามาก AI ยังไม่สามารถเกิดความคิดสร้างสรรค์ในส่วนงานเขียนได้เท่ากับพรสวรรค์ของมนุษย์

8. จิตรกร

งานเขียนถือเป็นงานศิลปะที่มีจินตนาการมากเป็นพิเศษ อาชีพนักเขียนจะต้องอาศัยการตัดสินใจโดยอ้างอิงจากความชอบและความต้องการของผู้อ่าน หรือกลุ่มเป้าหมาย และต้องใช้ความสามารถในการจัดวางคำศัพท์เฉพาะเจาะจงตามลำดับที่ถูกต้อง แม้ว่า AI จะสามารถช่วยในการสร้างไอเดียได้ แต่ลักษณะเฉพาะของการเขียนและภาษาที่สวยงามของมนุษย์นั้นยากกว่ามาก AI ยังไม่สามารถเกิดความคิดสร้างสรรค์ในส่วนงานเขียนได้เท่ากับพรสวรรค์ของมนุษย์

9. งานฝีมือ

งานฝีมือ เช่นเดียวกับจิตรกร ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีระบบสร้างงานฝีมือโดย AI ซึ่งทำได้เนี้ยบ และออกมาสวยงาม แต่ทุกอย่างเกิดจากสิ่งที่มีอยู่ก่อนหรือเกิดจาดสิ่งที่เราป้อนคำสั่งให้ AI ไม่สามารถมีจินตนาการมากพอจะสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากอารมณ์และทำให้ผู้ที่เห็นมีความรู้สึกร่วมได้ดีเท่ามนุษย์ที่ความรู้สึกและอารมณ์ร่วมกับสิ่งต่างๆ

เปรียบเทียบข้อดี-สิ่งที่ควรคำนึงถึง ของการทำงาน AI

เทคโนโลยีถูกสร้างเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในชีวิตประจำวัน หรือจะด้านธุรกิจเองก็ตาม ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ถูกสร้างด้วยจุดประสงค์ให้ทำงานแทนคน แต่ก็มีข้อดีข้อเสียที่ควรคำนึงถึง

ข้อดีของการใช้ AI ทำงาน

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงาน ในหลายๆ ภาคส่วนของธุรกิจและอุตสาหกรรม มีการเก็บข้อมูลต่อเนื่อง เพื่อนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น AI จะช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และแสดงผลสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดและเป็นกลาง ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้ภาพรวมของธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ความสามารถของ AI จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงาน รวมถึง AI สามารถวิเคราะห์ และคาดการณ์ข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ และจะช่วยให้ขั้นตอนที่ซับซ้อนเสร็จได้เร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตได้เป็นอย่างมาก
  • สามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง มนุษย์ไม่สามารถทำงานได้ตลอด เพราะต้องมีช่วงเวลาให้พักผ่อน แต่AI สามารถทำได้ขณะที่ยังมีพลังงานพออยู่ จึงสามารถพร้อมให้บริการลูกค้าได้ตลอด ลูกค้าจะได้รับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลดีต่อธุรกิจให้เกิดการซื้อขายได้มากขึ้น และสามารถทำซ้ำได้อัตโนมัติ
  • ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและเก็บรวบรวมได้แบบอัตโนมัติ AI สามารถเก็บข้อมูได้ในปริมาณมากๆ ได้อย่างแม่นยำและเกิดข้อผิดพลาดได้น้อยกว่าการเก็บบันทึกข้อมูลโดยมนุษย์ และยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาทันที
  • มีความแม่นยำในการตรวจสอบข้อผิดพลาดสูง ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถเห็นถึงข้อผิดพลาด และ AI สามารถนำข้อมูลมาคาดการณ์ข้อผิดพลาดล่วงหน้าได้อีกด้วย ทำให้ธุรกิจรับรู้ถึงความเสี่ยง แต่มีการเตรียมพร้อมวิธีป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ธุรกิจจึงดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
  • สามารถทำงานในสถานการณ์เสี่ยงๆ ได้ บางสถานการณ์มนุษย์เราอาจจะต้องเสี่ยงชีวิตในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ เช่น การค้นหาโลกใต้น้ำ ขุดแร่ หรือการกู้ระเบิด เป็นต้น เพื่อให้มนุษย์ไม่จำเป็นต้องไปเสี่ยงชีวิตเองแบบสมัยก่อน AI จึงมีประโยชน์ต่อบทบาทในชีวิตมนุษย์มากขึ้น

สิ่งที่ควรคำนึงถึงของการใช้ AI ทำงาน

  • AI ยังไม่สามารถจำลอง EQ กับ IQ หรือความฉลาดทางอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ได้ เช่น การสื่อสาร การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการทำงานร่วมกันในสังคม การเห็นอกเห็นใจ
  • ต้นทุนในการพัฒนาสูง หากต้องการใช้ AI ที่มีประสิทธิภาพ มักจะต้องการทรัพยากรและเงินลงทุนในจำนวนมหาศาลตามไปด้วย
  • มีความเสี่ยงในด้านความปลอดภัย AI ก็เหมือนกับระบบคอมพิวเตอร์ หากถูกแฮ็ก หรือโดนบังคับใช้งานอย่างไม่เหมาะสม ก็สามารถทำให้เกิดเรื่องร้าย นำไปสู่ความเสียหายได้ทั้งในเชิงวัสดุและข้อมูล แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยผู้บริการ Technology Vendor ที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงการพัฒนาให้มีระบบป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์
  • สร้างความขี้เกียจให้กับมนุษย์ เมื่อมีคนทำให้ทุกอย่าง วันนึงมนุษย์อาจจะต้องพึ่งพา AI ไปตลอดจนทำอะไรไม่เป็น
  • มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจะประดิษฐ์ AI ขึ้นมานั้น ต้องใช้ทุนและทรัพยากรจำนวนมาก เพื่อให้ได้ AI ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น AI จึงมีผลต่อสิ่งแวดล้อมได้ในวงกว้างเช่นกัน
  • เพิ่มอัตราการว่างงาน ระบบการทำงานอัตโนมัติของ AI สามารถทำหน้าที่แทนคนได้หลายภาคส่วน งานของคนก็จะถูกแทนที่มากขึ้น

สรุปแล้ว AI จะมาแทนที่คนจริงไหม?

AI เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ล้ำหน้า แต่ก็ยังไม่สามารถแทนมนุษย์ได้ 100% แต่อาจจะมาในรูปแบบของตัวช่วยที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นผู้ช่วยเสริมให้งานออกมาดียิ่งขึ้น

SOLUTIONS ตัวช่วย AI กับการทำงานในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านโรงแรม ร้านอาหาร การจัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพโดย AI รวมถึงเปลี่ยนออฟฟิศให้เป็นระบบอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการรวบรวมข้อมูลต่างๆ และประหยัดเวลาในส่วนของการทำงานซ้ำๆ ได้ดีอีกด้วย คนที่นำ AI มาใช้งาน จึงย่อมได้เปรียบกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ AI แน่นอน

AI ในอนาคตจะเป็นอย่างไร

เมื่อเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าขึ้น เข้าสู่ยุคของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในหลายๆ ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ จะนำAI เข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้น และในบางงานจะต้องถูก AI แทนที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเมื่อ AI ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ความต้องการพนักงานที่มีทักษะและความรู้เฉพาะทางก็เพิ่มขึ้น ผู้คนจะต้องยอมรับว่าปัญญาประดิษฐ์กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ในอนาคตทุกบทบาทจะต้องยอมรับในสิ่งนี้ และพิจารณาวิธีแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ AI จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปข้างหน้า ทำให้กระบวนการผลิตทั้งหมดเป็นไปอัตโนมัติ และเพื่อให้ความก้าวนำของยุคปัญญาประดิษฐ์ มนุษย์จะต้องยอมรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ ศึกษาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มนุษย์จะสามารถเติบโตได้ในยุคของ AI และใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่ เพื่อความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ และเพื่อประสบความสำเร็จในตลาดที่มีการแข่งขันสูง AI จะไม่แทนคน แต่จะกลายมาเป็นเครื่องมือช่วยเหลือเราได้ในหลายๆ ด้าน ช่วยทำงานแทนให้ส่วนที่ต้องทำซ้ำๆ ประหยัดเวลา ให้เราสามารถไปทำงานส่วนอื่น ที่ต้องใช้ทักษะมากกว่าได้ดีขึ้น

AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูล คำนวณ และทำงานได้เหมือนกับมนุษย์ได้ในบางอย่าง รวมถึงการเลียนแบบกิจกรรมของมนุษย์ และด้วยความสามารถของ AI ที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานในหลายๆ ด้าน ในบางธุรกิจจึงนิยมนำ AI มาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งการนำ AI เข้ามาทำงานส่งผลกระทบทำให้มนุษย์อาจจะไม่จำเป็นต่อการทำงานแล้ว แต่ถึงแม้ AI จะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ล้ำหน้า แต่ก็ยังไม่สามารถแทนมนุษย์ได้ 100% ซึ่งเราอาจจะนำ AI มาใช้ในรูปแบบของตัวช่วยที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นมากกว่าที่จะแทนที่ไปเลย หรือลดการทำงานที่ใช้ทรัพยากรคนเกินจำเป็น ให้ AI ทำหน้าที่ในส่วนการทำซ้ำ ให้เป็นผู้ช่วยเสริมให้งานออกมาดียิ่งขึ้น

เรามีบริการ SOLUTIONS จาก Dynamic Intelligence Asia – dIA โดยเป็นการใช้ระบบ AI ที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์ให้แก่ธุรกิจ โดยจะมีทั้งระบบการจดจำใบหน้า ระบบตรวจสอบผู้ปฏิบัติงานในโรงงานสามารถเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เป็นระบบดิจิทัลแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประหยัดต้นทุน ระบบของ AI จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ตรวจสอบกระบวนการผลิตและแจ้งเตือนทันทีที่ตรวจพบขั้นตอนการทำงานที่ขาดหาย อีกทั้งยังสามารถตรวจจับ จำแนกบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ เหมาะแก่การนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิด ขณะที่ลดปริมาณการทำงานของบุคคล

สนใจ products ของ DIA สามารถติดต่อ DIA ได้ที่ www.dia.co.th หรือ โทร (+66) 95 8268778