Key Takeaway
|
AI (Artificial Intelligence) หรือที่รู้จักกันว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ เลียนแบบความคิดที่ซับซ้อนของมนุษย์ ผ่านการประมวลผลแบบอัลกอริทึม ทำงานได้เหมือนกับมนุษย์ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ ช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
จึงเป็นสาเหตุให้ คุณอนุวัฒน์ ชำนาญ CEO and Founder ของ DIA ได้พัฒนาระบบ AI เพื่อเข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่รองรับกลุ่มธุรกิจทุกรูปแบบ โดยในบทความนี้จะเปิดมุมมองและโอกาสใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ ด้วยการสัมภาษณ์มุมมองซีอีโอ DIA ผู้นำด้าน AI ในประเทศไทย เกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน จะเป็นอย่างไรเมื่อ AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
ความท้าทายของ AI ที่ต้องข้ามผ่าน
ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ดำเนินงานด้านธุรกิจมีอยู่มากมาย แต่ในแง่ของการทำธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่างก็ต้องเผชิญกับความซับซ้อนและความท้าทายของ AI ที่อาจเกิดขึ้น โดยหลักๆ แล้ว AI กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทาย ดังนี้
AI กับความท้าทายด้านการพัฒนาธุรกิจ
Q: อุปสรรคหรือความท้าทายของ AI กับการพัฒนาธุรกิจในยุคปัจจุบันคืออะไร?
คุณอนุวัฒน์: ในยุคที่เทคโนโลยี AI ก้าวกระโดด DIA เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้วยการนำ Technology AI มาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ให้เข้าสู่ยุค 4.0 Advance Manufacturing การพัฒนาระบบ AI เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ยังมีความท้าทายของ AI ให้ควรพิจารณาอยู่หลายอย่าง ทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาที่ต้องเสียไปในการพัฒนาระบบ AI ขึ้นมาใช้งานสัก 1 Application อาจจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เจ้าของกิจการยังต้องเตรียมไว้ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงานผู้เชี่ยวชาญทางด้าน AI หรือค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ AI ต่างๆ
AI กับความท้าทายด้านบริหารบุคลากร
Q: บุคลากรที่ทำงานในระบบเก่าๆ จะได้รับผลกระทบจากการเข้ามามีบทบาทของ AI ไหม?
คุณอนุวัฒน์: ผมคิดว่า AI จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบุคลากรในบริษัท ทำงานให้ได้ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยทุ่นแรง ช่วยทำงานบางงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นมากได้ ให้มองว่า AI เป็นหนึ่งในตัวช่วยมากกว่าจะเข้ามาแทนที่ครับ ความท้าทายที่แท้จริงเลยคือในบ้านเรายังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนา AI ถ้าคุณเป็นเจ้าของโรงงาน หรือเจ้าของกิจการ อยากจะใช้ AI เข้ามาปรับปรุงการทำธุรกิจของคุณ ด้วยบุคลากรเดิมที่มีอยู่อาจจะทำให้การพัฒนาประสบความสำเร็จได้ยาก
แต่หากมีผู้เชี่ยวชาญ หรือมีเครื่องมีที่จะมาช่วยให้การใช้งาน AI ง่ายได้มากขึ้น ก็จะทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการพัฒนา และมีโอกาสการเติบโตทางธุรกิจที่มากกว่าในอนาคตครับ
โอกาสทางธุรกิจที่ AI เข้ามาเปิดทาง
ธุรกิจและองค์กรที่ได้นำ AI เข้ามาเป็นเครื่องมือในการทำงานส่วนต่างๆ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเสริมสร้างประสบการณ์ ความประทับใจที่มีต่อลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น
Q: การเข้ามาของ AI ช่วยให้การงานมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ แล้วช่วยได้อย่างไร?
คุณอนุวัฒน์: การใช้ AI เข้ามาเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำงานในธุรกิจ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับลูกค้า ถ้าหากผู้ประกอบการเลือกเครื่องมือ AI ที่ถูกต้อง เลือกผู้พัฒนา AI ที่คำนึงถึงการลงทุนที่น้อยที่สุด แต่ได้ศักยภาพมากที่สุด
ซึ่ง AI ก็สามารถช่วยได้ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ลดของเสียในไลน์การผลิต เข้ามาช่วยการทำงานของมนุษย์แม่นยำได้มากขึ้น ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ลด Human Error ที่เกิดขึ้นได้
- ความสามารถในการช่วยลดต้นทุน โดย AI บางประเภท สามารถทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้ มีความสามารถในการทำงานที่มีความซับซ้อนได้เทียบเท่ากับสมองมนุษย์ สามารถลดการจ้างงานที่ไม่จำเป็นให้กับธุรกิจได้
- เมื่อธุรกิจทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนที่ลดลง สิ่งที่ตามมาก็คือ กำไรที่เพิ่มขึ้น นั่นเองครับ
การลดต้นทุน
Q: ในแง่ของต้นทุน AI มีส่วนในการลดงบประมาณด้านนี้ได้ไหม?
คุณอนุวัฒน์: แน่นอนว่าช่วยลดต้นทุนได้ โดย AI บางประเภท สามารถทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้ หรือแม้กระทั่งมีสติปัญญาและความสามารถในการทำงานที่มีความซับซ้อนได้เทียบเท่ากับสมองมนุษย์ จึงทำให้ AI เข้ามามีบทบาทการทำงานที่ครอบคลุมทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนการทำงานที่เสี่ยงอันตราย เพื่อป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นับว่าเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงาน ลดต้นทุนในการดำเนินงานและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจจาก AI ให้เติบโต
Q: ช่วยยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นได้ไหม?
คุณอนุวัฒน์: ก็อย่างการลดต้นทุนในการสรรหาพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายฉุกเฉินกรณีพนักงานเกิดอุบัติจากการทำงาน และลดมูลค่าความเสียหายจากการทำงานที่ผิดพลาดของพนักงาน
การลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์
Q: มนุษย์บางคนยังทำงานผิดพลาด แล้ว AI จะผิดพลาดไหม
คุณอนุวัฒน์: ในความจริงแล้ว AI นี่แหละที่จะเข้ามาลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ เพราะไม่ว่าพนักงานในองค์กรจะทำงานมานานแค่ไหนก็ตาม แต่การทำงานบางอย่าง ก็อาจมีข้อผิดพลาดให้ต้องแก้ไข ตั้งแต่ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย จนถึงความผิดพลาดขั้นรุนแรง ซึ่งก็อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจได้ ดังนั้น การเข้ามาของ AI ที่ทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ได้เข้ามาเปิดแนวทางการทำงาน ที่ช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ผิดพลาดจากมนุษย์ได้เป็นอย่างดี โดยระบบเหล่านี้ ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการทำงานที่เฉพาะเจาะจง จึงมีการทำงานเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างราบรื่น มีคุณภาพ มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจได้อย่างมั่นคง และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
Q: ช่วยยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นได้ไหม?
คุณอนุวัฒน์: ถ้าในทุกวันนี้ก็มีการใช้หุ่นยนต์ในการจัดการคลังสินค้าแทนการทำงานของมนุษย์เพื่อลดความผิดพลาดจากการทำงาน ทั้งการจัดเรียงชั้นวาง การเคลื่อนย้ายสินค้า ตลอดจนการขนส่งสินค้า
แนวโน้มของ AI ในอนาคต ผ่านมุมมองซีอีโอ
โดยภาพรวมแนวโน้มของ AI ในอนาคต ผ่านมุมมองซีอีโอมองว่า AI มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานและตลาดแรงงาน ที่เข้ามาช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น สามารถอธิบายได้ดังนี้
บทบาทของ AI ที่เพิ่มมากขึ้น
Q: ในปัจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่มีความพร้อมในการนำ AI มาใช้มากน้อยแค่ไหน?
คุณอนุวัฒน์: การทำงานแบบเดิมๆ เป็นการทำงานที่ใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลัก บางครั้งอาจมีข้อผิดพลาด มีการทำงานที่ล่าช้า หากเจองานที่เสี่ยงอันตราย ก็อาจทำให้สูญเสียทรัพยากรบุคคลมากเกินความจำเป็น และใช้ต้นทุนมหาศาลในการดำเนินงาน ทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น แนวโน้มด้านบทบาทของ AI กับการทำงานในยุคปัจจุบัน เริ่มเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพราะช่วยให้การดำเนินงาน การจัดการต่างๆ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ากลายเป็นเรื่องง่าย โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด แต่มีประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่ากับมนุษย์ และสามารถเพิ่มโอกาสเติบโตทางธุรกิจได้มาก
AI กับตลาดแรงงาน
Q: AI จะเข้ามาทำงานแทนคนจริงหรือไม่?
คุณอนุวัฒน์: AI ไม่สามารถทำงานหรือแทนที่มนุษย์ได้ทั้งหมดอยู่แล้ว เพราะความสามารถของ AI กับความสามารถของมนุษย์ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่างทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร การมีมนุษยสัมพันธ์ และการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ AI ก็ไม่สามารถเข้ามาทำสิ่งเหล่านี้ได้
การทำงานร่วมกันของ AI และมนุษย์
Q: คุณอนุวัฒน์ มีคำแนะนำสำหรับการทำงานกันของ AI และมนุษย์ไหม?
คุณอนุวัฒน์: ผมมองว่าสุดท้ายแล้ว AI และมนุษย์ไม่ใช่คู่แข่งกันครับ แต่เป็นพันธมิตรที่เสริมสร้างศักยภาพซึ่งกันและกัน การทำงานของ AI ช่วยให้มนุษย์มีเวลาไปโฟกัสในด้านที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ขณะที่ AI เข้ามาจัดการงานที่ซ้ำซากหรือต้องการความแม่นยำสูง เช่น การตรวจสอบความปลอดภัยหรือการควบคุมคุณภาพ
หากผู้ประกอบการมองหาเทคโนโลยี AI ที่ออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย ทุกคนสามารถปรับใช้กับระบบที่มีอยู่เดิมได้อย่างไม่ซับซ้อน ผมมองว่าจะทำให้ธุรกิจสามารถนำ AI เข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่าครับ
คำแนะนำสำหรับธุรกิจที่ต้องการนำ AI มาใช้
Q: คุณอนุวัฒน์ มีคำแนะนำสำหรับธุรกิจที่ต้องการนำ AI มาใช้ไหม ว่าควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
คุณอนุวัฒน์: ธุรกิจที่อยากนำเอา AI มาใช้งาน สามารถเตรียมความพร้อมได้ดังนี้
- การตั้งวัตถุประสงค์ ก่อนอื่นต้องตอบคำถามวัตถุประสงค์ก่อนครับว่าจะนำ AI ไปใช้กับการทำงานส่วนไหน หรือใช้เพื่อปรับปรุงธุรกิจในส่วนใด เพื่อนำไปสู่การเลือกระบบ AI ที่ตอบโจทย์กับธุรกิจได้มากที่สุด
- เตรียมความพร้อมของพนักงานและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ สร้างความเข้าใจว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยพัฒนาการทำงานให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และไม่ได้มาแทนที่การทำงานของมนุษย์ เตรียมพร้อมระบบเพื่อรองรับการใช้ทำงานให้พร้อมครับ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือระบบ Infrastructure ต่างๆเพื่อให้การใช้งานระบบเป็นไปอย่างราบรื่น
- ประเมินผลในการทำงาน ประเมินว่าหลังนำ AI มาใช้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพได้อย่างครอบคลุม
- หาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือ หากไม่มั่นใจในความพร้อม แนะนำให้ลองหาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเสริม เพราะผู้เชี่ยวชาญจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด รวมถึงเลือกใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม AI ที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ทันที ช่วยให้คุณไม่ต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ และยังได้โซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณอีกด้วย การเลือกบริษัท AI ที่มีความเข้าใจในบริบทของธุรกิจในประเทศ จะช่วยให้กระบวนการทุกอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Q: คุณอนุวัฒน์ มีความเห็นเกี่ยวกับการลงทุนบนระบบ AI อย่างไรบ้าง?
คุณอนุวัฒน์: เนื่องจากระบบ AI ในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้การลงทุนสำหรับการนำระบบ AI มาใช้ในการดำเนินงานธุรกิจหรือองค์กรนั้น ดูเหมือนว่าในขั้นแรกจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่หากมองผลตอบแทน หรือผลกำไรที่ได้รับในระยะยาวแล้วนะครับ จะได้กลับมาอย่างคุ้มค่าในระยะยาว และสามารถพัฒนาความก้าวหน้า รวมถึงโอกาสการเติบโตทางธุรกิจให้สูงขึ้นตามเช่นกัน
โลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าขึ้น ทำให้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จนเป็นสาเหตุให้ทำให้ธุรกิจและอุตสาหกรรม เริ่มมีการปรับตัวและนำเทคโนโลยีอย่าง AI เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำงาน อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายของ AI ที่ต้องเผชิญ ทั้งค่าใช้จ่ายเรื่องระยะเวลาและบุคลากรที่มีทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบ เพื่อให้เตรียมพร้อมกับการทำงาน
หากธุรกิจหรืออุตสาหกรรม มีความเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการนำ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน ก็ทำให้ธุรกิจดำเนินงานได้ราบรื่น สามารถเพิ่มผลผลิต และลดขั้นตอนการทำงานของพนักงาน เพื่อให้พนักงานสามารถเอาเวลาไปพัฒนาศักยภาพในการทำงานได้มากขึ้นกว่าเดิม ได้มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่อาจช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกิจเพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้นกว่าเดิมเช่นกัน