![dIA – Sep 2 (AI No code platform) (1) เริ่มต้นใช้ AI ในอุตสาหกรรมไทยง่ายๆ ด้วยระบบ AI No Code Platform](https://www.dia.co.th/wp-content/uploads/2024/12/dIA-Sep-2-AI-No-code-platform-1.jpg)
Key Takeaway
|
ใครว่าการใช้ AI หรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วย AI เป็นเรื่องยาก? บทความนี้จะทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด ไม่จำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้าน AI หรือไม่ต้องมายุ่งยากกับการสร้าง AI Application เราก็สามารถนำมาใช้งานเองได้ง่ายๆ อีกทั้งจะพาไปดูขั้นตอนการนำ AI มาใช้ในโรงงาน พร้อมช่วยแนะนำระบบ AI No Code Platform ที่เป็นตัวช่วยที่ดีของ AI ทำให้เราไม่ต้องคอยพึ่งผู้เชี่ยวชาญก็ลงมือทำเองได้ง่ายๆ ผ่าน DUSCAP
![dIA – Sep 2 (AI No code platform) (2) ทำความรู้จัก AI ในโรงงาน](https://www.dia.co.th/wp-content/uploads/2024/12/dIA-Sep-2-AI-No-code-platform-2.jpg)
ทำความรู้จัก AI ในโรงงาน
วงการอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดในทุกด้าน ความแม่นยำและประสิทธิภาพของการผลิตจึงเป็นหัวใจสำคัญของระบบอุตสาหกรรมที่ไม่ควรจะละเลยเพื่อให้สามารถตอบโจทย์และสนองต่อความต้องการของตลาดได้ โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งจึงให้ความสนใจต่อเทคโนโลยีที่จะช่วยเข้ามาเสริมสร้างการผลิตให้สูงขึ้น ทำให้การใช้เทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมไทยเข้ามาเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล และประมวลผลข้อมูลในการทำธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจขยายเติบโตและยังช่วยลดต้นทุนในส่วนอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
![dIA – Sep 2 (AI No code platform) (3) ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมใช้ AI ในโรงงาน](https://www.dia.co.th/wp-content/uploads/2024/12/dIA-Sep-2-AI-No-code-platform-3.jpg)
ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมใช้ AI ในโรงงาน
การใช้ AI ในอุตสาหกรรมไทยนั้นไม่ได้เพียงแต่แค่ต้องเฟ้นหาและติดตั้งแต่เทคโนโลยีใหม่ๆ เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการคิด วิเคราะห์ และวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้ AI ให้ตอบโจทย์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เรามาดูกันว่าขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ AI มีอะไรบ้าง ดังนี้
1. สำรวจและทำความเข้าใจปัญหา
การจะเริ่มต้นใช้ AI ในอุตสาหกรรมของเรา เราต้องเข้าใจถึงจุดเด่น จุดด้อย ปัญหาและข้อได้เปรียบของโรงงานของเราก่อน เพื่อวิเคราะห์ดูว่าจุดอ่อนที่มีนั้นสร้างข้อผิดพลาดในการทำงานด้านไหนบ้าง เช่น การสูญเสียวัตถุดิบ เวลา หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยการจะรู้จุดอ่อนเหล่านี้เราอาจสามารถสอบถามจากการสัมภาษณ์พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ หรือใช้เครื่องมืออื่นๆ ในการวิเคราะห์กระบวนการ (Process Analysis)
การเรียนรู้และเข้าใจที่ปัญหาก่อนนี้จะทำให้การนำ AI มาใช้ จะช่วยให้สามารถเลือกใช้ AI ได้ตรงต่อความต้องการและความจำเป็นในการใช้งานของโรงงาน เป็นตัวช่วยให้โรงงานได้เลือก AI ในอุตสาหกรรมไทยที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้งานในส่วนที่ไม่จำเป็นอออกไปได้
2. ตั้งเป้าหมายขององค์กร
หลังจากสำรวจและทำความเข้าใจปัญหาเกี่ยวกับองค์กรเรียบร้อยแล้ว ควรวางเป้าหมายขององค์กรให้แน่ชัด เช่น การวางเป้าว่าจะลดต้นทุนการผลิต 10% ภายในระยะเวลา 1 ปี การตั้งเป้าหมายเพิ่มผลผลิตภายใน 15% และต้องการการลดอัตราการสูญเสียวัตถุดิบลง 5% หรือการวางเป้าหมายที่จะนำเทคโนโลยีอย่าง AI เข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในกระบวนการทำงาน
การวางเป้าหมายรวมถึงระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจนจะช่วยทำให้สามารถระบุแนวทางดำเนินการที่เหมาะสมได้ พร้อมเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้ AI ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการดำเนินการ และเพื่อสร้างให้โรงงานของเรากลายเป็น Industry 4.0 (Smart Factory) โรงงานอัจฉริยะได้เช่นกัน
3. ประเมินและเตรียมความพร้อม
การใช้ AI ในอุตสาหกรรมไทยนอกจากจะต้องเตรียมความพร้อมทางด้านประสิทธิภาพของโรงงานแล้ว จะต้องมีการประเมินในด้านอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อการเตรียมความพร้อมในทุกมิติ โดยการเตรียมพร้อมที่ดีจะต้องมีการประเมินศักยภาพขององค์กร มีการตรวจสอบฐานข้อมูล ระบบไอที ความรู้และความเข้าใจของบุคลากร และงบประมาณ เพื่อนำข้อมูลต่างๆ นี้เข้าสู่การวิเคราะห์ด้วย AI ต่อไป และเพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดว่าข้อมูลนั้นถูกต้องและเพียงพอหรือไม่ต่อการวิเคราะห์ AI
การเตรียมความพร้อมก่อนนั้นจะช่วยทำให้รู้ถึงข้อจำกัดและเห็นถึงช่องโหว่ขององค์กร เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงและแก้ไข หรืออัพเดทข้อมูลขององค์กรให้มีความพร้อมต่อการใช้งานและการวิเคราะห์ เพื่อการลดความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เลือกเครื่องมือและฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะสม
การเลือกเครื่องมือและฟังก์ชันการใช้งานของ AI นั้นดูได้จากสิ่งที่เรามีอยู่ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล เทคโนโลยีภายใน แผนการและเป้าหมายในการดำเนินการ ปัญหาและความซับซ้อนของปัญหา ตลอดจนสิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมเพื่อการปรับปรุงแก้ไขที่ดีขึ้น โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ AI ให้ตรงตามความต้องการ เพื่อให้ AI ที่เลือกใช้งานนั้นเข้ามาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ใช้งานได้อย่างง่ายดาย และมีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์มากที่สุด เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดให้กับองค์กร และยังนับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดอีกด้วย
เทคโนโลยี DUSCAP เป็นหนึ่งใน AI สัญชาติไทยที่ตอบโจทย์กับความต้องการที่หลากหลาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการของธุรกิจ แม้ว่าในองค์กรจะไม่มีผู้เชี่ยวชาญก็ใช้งาน AI ได้อย่างง่ายดาย ประหยัดต้นทุนได้ดี และยังช่วยให้กระบวนการการผลิตขององค์กรมีศักยภาพที่มากขึ้นอีกด้วย
5. อบรมและเตรียมความพร้อมให้บุคลากร
เมื่อเรานำ AI มาใช้ ก็จะต้องมีการอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีในการดำเนินการ เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการทำงานของ AI และเพื่อทำให้บุคลากรทำงานร่วมกับระบบ AI ได้อย่างสอดคล้อง เพื่อให้ AI เป็นตัวช่วยในการทำงานที่ดีของบุคลากรในองค์กร และเพื่อป้องกันไม่ให้ AI กลายมาเป็นอุปสรรคและความขัดข้องในการทำงาน
DUSCAP คือ AI สัญชาติไทยเพื่อ AI ในอุตสาหกรรมไทย ที่จะทำให้บุคลากรสามารถทำงานร่วมกับ เทคโนโลยี AI สมัยใหม่ ได้อย่างสอดคล้อง อีกทั้ง DUSCAP ยังเป็น AI No Code Platform ที่ใช้งานง่าย เรียนรู้และทำความเข้าใจได้ไม่ยาก ทำให้บุคลากรไม่ต้องเปลืองเวลาในการทำงานไปกับการพยายามทำความเข้าใจระบบ
6. ทดลองใช้งานจริง
การทดลองใช้งาน AI ทำให้เราเห็นถึงลักษณะการดำเนินงานและการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรและ AI ว่ามีลักษณะแบบใด มีข้อดีอย่างไร และคอยตรวจสอบเพื่อหาจุดบกพร่องในการดำเนินงาน เพื่อการนำไปสู่การปรับปรุงและแก้ไขต่อไป
![dIA – Sep 2 (AI No code platform) (4) DUSCAP ระบบ AI No Code Platform ใช้งานง่าย เหมาะกับทุกโรงงาน](https://www.dia.co.th/wp-content/uploads/2024/12/dIA-Sep-2-AI-No-code-platform-4.jpg)
DUSCAP ระบบ AI No Code Platform ใช้งานง่าย เหมาะกับทุกโรงงาน
DUSCAP – DIA เป็นระบบ AI ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจเราให้สะดวก ง่าย และเป็นผลดีต่อการทำงานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเป็น AI No Code Platform ที่ช่วยให้การทำงานง่ายแต่ยังคงประสิทธิภาพได้ แม้แต่ผู้ใช้งานที่ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคก็สามรถเรียนรู้เพื่อการใช้งานได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้ DUSCAP เป็น AI สัญชาติไทยแท้ ทำให้การใช้งานเหมาะสมต่อระบบอุตสาหกรรมในไทย ช่วยลดต้นทุนเพื่อความคุ้มค่าในการดำเนินธุรกิจ เพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจสามารถแข่งขันอย่างทัดเทียมกับธุรกิจอื่นๆ ได้ และสร้างให้ธุรกิจและองค์กรของเรามีความก้าวหน้าจนตามทัน Industry 4.0 (Smart Factory) โรงงานอัจฉริยะที่เต็มไปด้วยศักยภาพมากมาย
ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นองค์กรและธุรกิจหลายแห่งจึงต้องค้นหาวิธีการเพื่อสร้างความก้าวหน้าทางการแข่งขันในตลาดให้ตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้คนมากยิ่งขึ้น การนำ AI เข้ามาใช้เพื่อเป็นตัวช่วยที่สำคัญในธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่หลายธุรกิจเลือกใช้ เพื่อทำให้การดำเนินกิจการมีคุณภาพที่สูงขึ้นสามารถแข่งขันกันได้
การเตรียมโรงงานให้พร้อมต่อการใช้ AI ในอุตสาหกรรมไทยจะต้องเริ่มจากการวิเคราะห์เข้าใจปัญหา ตั้งเป้าหมายขององค์กรให้ชัด พร้อมการประเมินความพร้อมของข้อมูลและบุคลากร เพื่อนำไปสู่การเลือกใช้ AI ที่เหมาะสมก่อนจะนำไปใช้งานจริง โดย DUSCAP – DIA เป็น AI สัญชาติไทยที่จะเข้ามาทำให้การดำเนินธุรกิจของเราง่ายมากยิ่งขึ้น เรียนรู้และเข้าใจเพื่อนำไปใช้งานได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ ช่วยแก้ไขปัญหา และช่วยในการดำเนินการที่สอดคล้องกับกิจการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้มีคุณภาพ