Key Takeaway
|
ยุคสมัยของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจการค้าปลีกต่างก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินงานธุรกิจค้าปลีกธรรมดาให้กลายเป็นธุรกิจร้านค้าปลีกอัจฉริยะ เพื่อให้เป็นร้านที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในเรื่องของการบริการ มาทำความรู้จักกับ Smart Retail คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร จะสร้างข้อดีที่เหนือกว่าคู่แข่งได้อย่างไรบ้าง ได้ที่บทความนี้
Smart Retail นวัตกรรมร้านค้าอัจฉริยะ คืออะไร
Smart Retail คือ ระบบร้านค้าปลีกอัจฉริยะที่มีการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ชาญฉลาดและทันสมัย มาประยุกต์ใช้ในการขายสินค้าและบริการ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค โดยช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ทั้งการเช็กรายการสินค้าหรือการซื้อสินค้าได้ด้วยตนเอง ช่วยปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจร้านค้าปลีก รวบรวมพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า และประสบการณ์การซื้อของลูกค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์ วางแผน ปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติสำคัญของ Smart Retail
ระบบ Smart Retail (ระบบร้านค้าปลีกอัจฉริยะ) ประกอบไปด้วย 6 คุณสมบัติสำคัญสำหรับการดำเนินงานทางธุรกิจ ดังนี้
- ระบบตรวจจับใบหน้าอัตโนมัติ เทคโนโลยีที่ใช้ในการจดจำและตรวจจับใบหน้า จากการรวบรวมข้อมูลของบุคคล เพื่อนำมาประมวลผล บันทึกเข้าสู่ระบบ และใช้ตรวจสอบใบหน้าของบุคคล ผู้ประกอบการสามารถนำใบหน้าของผู้ต้องสงสัย หรือบุคคลที่เป็นอันตราย มาบันทึกไว้ในระบบ เพื่อป้องกันการสูญเสีย และยกระดับความปลอดภัยให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ (ระบบตรวจจับใบหน้า)
- ระบบระบุตัวตนสมาชิกด้วยกล้อง เป็นคุณสมบัติสำคัญที่สามารถระบุใบหน้า ระบุตัวตนสมาชิก จากกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เพื่อทำรายงานทางสถิติว่า ในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลา มีลูกค้ามาใช้บริการจำนวนเท่าไร เพื่อวางแผนการให้บริการลูกค้าที่เป็นสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ระบบตรวจจับใบหน้า)
- ระบบตรวจจับความหนาแน่นของผู้ใช้บริการ เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการว่า แต่ละพื้นที่ แต่ละช่วงเวลานั้นๆ มีลูกค้ามาใช้บริการมากเท่าไรต่อวัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ วางแผน และปรับปรุงพื้นที่นั้น เพื่อรองรับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ พร้อมทั้งวางแผนการตลาด และวางแผนการขายให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ามากขึ้น (ใช้กล้องวงจรปิดเป็น AI ตรวจจับคน)
- ระบบตรวจจับความหนาแน่นของสินค้า คือ การจับภาพของชั้นวางสินค้าว่า มีปริมาณสินค้าเพียงต่อการขายหรือไม่ หากมีสินค้าเหลือน้อย ระบบจะแจ้งเตือนปริมาณสินค้าที่มีอยู่ไปยังพนักงาน เพื่อให้มาเติมสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า (ใช้กล้องวงจรปิดเป็น AI ตรวจจับสิ่งของ)
- ระบบแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ ระบบแจ้งเตือนสำหรับพนักงานฝ่ายขายหรือพนักงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อลูกค้าหรือสมาชิกคนสำคัญเข้าใช้บริการ เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า และทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อหรือใช้บริการได้ต่อเนื่อง (Smart Real-time Dashboard)
- ระบบปรับแต่งเฉพาะบุคคล เป็นระบบการส่งเสริมการขายสำหรับสมาชิกแต่ละคน ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลการค้นหาสินค้า การซื้อสินค้า หรือฐานข้อมูลอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าเกิดความสนใจในสินค้า และกลับมาใช้บริการซ้ำ (Personalized Marketing)
ขอแนะนำ บริการ Smart Retail จากทาง DIA ตัวช่วยที่ผสมผสานนวัตกรรม AI ร่วมกับกล้องตรวจจับที่ทันสมัย มีฟีเจอร์หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ระบบตรวจจับใบหน้าที่ช่วยตรวจจับ จดจำ และระบุตัวตนได้อย่างรวดเร็ว หรือจะใช้กล้องวงจรปิดเป็น AI ตรวจจับคน ที่ช่วยตรวจจับความหนาแน่นของผู้ใช้บริการได้อย่างแม่นยำ Smart Real-time Dashboard ที่ช่วยตรวจจับลูกค้าระดับสมาชิกได้ทันที บริการที่เหนือระดับ และ Personalized Marketing ที่ตอบโจทย์ความหลากหลายทางความต้องการของกลุ่มลูกค้า ปรับแต่งบริการเฉพาะบุคคล ยกระดับความประทับใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของ Smart Retail ที่ทำให้เหนือกว่าคู่แข่งทางการค้า
สิ่งที่ทำให้ธุรกิจเหนือกว่าคู่แข่งทางการค้า คือการเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้เป็น Smart Retail หรือระบบร้านค้าปลีกอัจฉริยะ ซึ่งเป็นระบบที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานเพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ แล้วมาดูกันว่าประโยชน์ของระบบ Smart Retail คืออะไร และสามารถทำให้ธุรกิจเหนือกว่าคู่แข่งได้อย่างไรบ้าง
1. เพิ่มยอดขายและกำไร
ประโยชน์ข้อแรกของระบบร้านค้าปลีกอัจฉริยะ คือช่วยให้ธุรกิจเข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้า ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค หรือการใช้บริการ เช่น ความชอบส่วนบุคคล แรงจูงใจในการซื้อสินค้า คำแนะนำจากบุคคลรอบข้าง หรือกำลังซื้อที่มี ซึ่งชุดข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย สามารถเสนอสินค้าและบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า เพื่อเพิ่มยอดขายและสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ลดต้นทุนในระยะยาว
เนื่องจากระบบร้านค้าอัจฉริยะเป็นระบบที่มีการวิเคราะห์ วางแผน และการจัดการที่ชาญฉลาด หากนำมาปรับใช้กับธุรกิจค้าปลีก ก็สามารถช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานต่างๆ ได้ในระยะยาว เช่น บริหารจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสมเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ช่วยลดต้นทุนในระบบขนส่งจากการซ่อมบำรุง รวมถึงช่วยลดต้นทุนพลังงาน โดยการปรับใช้ระบบร้านค้าปลีกอัจฉริยะเข้ากับธุรกิจ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น และทำให้ธุรกิจได้รับกำไรเพิ่มมากขึ้น
3. จัดการสินค้าได้มีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนระบบธุรกิจค้าปลีกธรรมดา ให้กลายเป็นระบบธุรกิจร้านค้าปลีกอัจฉริยะ โดยมี AI เป็นตัวช่วย ก็ทำให้ผู้ประกอบการ ประเมินการขายและสามารถวางแผนจัดซื้อสินค้าได้ เช่น สินค้าทั้งหมดมีอยู่จำนวนเท่าไร เพียงพอต่อการขายหรือไม่ หรือสินค้าตัวไหนที่ควรผลิตเพิ่มหรือควรเลิกจำหน่าย เพื่อลดความผิดพลาดในการผลิตสินค้า รวมถึงการจัดเก็บสินค้า จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับธุรกิจค้าปลีกทุกประเภท ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบ และบริหารจัดการสินค้าได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
4. มีระบบตรวจเช็กที่โปร่งใส
การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้กลายเป็นร้านค้าปลีกอัจฉริยะ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบ และมองเห็นทุกความเคลื่อนไหวของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การผลิตสินค้า การจัดเก็บสินค้า จนถึงกระบวนการจัดส่งสินค้า เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่า ทุกขั้นตอนดำเนินงานด้วยความโปร่งใส อีกทั้ง หากพบข้อผิดพลาดก็สามารถแก้ไขได้ทันที
5. ดำเนินงานได้อย่างครอบคลุม
ระบบร้านค้าปลีกแบบเดิมเป็นระบบทำงานที่ไม่มีการกระจายอำนาจ มีระบบการทำงานที่สำคัญอยู่เพียงจุดเดียว เพราะต้องรอตรวจสอบคุณภาพสินค้า ระบบคลังข้อมูลสินค้า หรือข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น จากระบบส่วนกลาง ถึงจะดำเนินงานขั้นต่อไปได้ หากตรวจสอบล่าช้า ก็ย่อมส่งผลเสียต่อธุรกิจในหลายๆ ด้าน แต่ในทางกลับกัน ระบบ Smart Retail ที่ได้นำเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารจัดการ ปรับระบบการทำงานให้กระจายตัวมากขึ้น จึงกลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการดำเนินงานได้อย่างครอบคลุม รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
6. มอบประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิม
อย่างที่ทราบกันดีว่าระบบร้านค้าปลีกอัจฉริยะ อาจมีการใช้ AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิมให้กับลูกค้า โดยการนำข้อมูลจากพฤติกรรมของลูกค้า ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า และปัจจัยด้านอื่นๆ มาวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้ประกอบการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง และนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบการทำงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าสิ่งเหล่านี้ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิม จนเกิดเป็นความประทับใจในการใช้บริการ
7. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาปรับใช้กับการทำธุรกิจ ในรูปแบบร้านค้าปลีกอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาให้ธุรกิจก้าวหน้าและมั่นคงแล้ว เทคโนโลยีเหล่านี้ยังสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะ Smart Retail ช่วยประหยัดพลังงานตั้งแต่กระบวนการผลิต ตลอดจนการจำหน่ายสินค้าและบริการ รวมถึงการติดตั้งระบบควบคุมการทำงานของพื้นที่ต่างๆ เช่น ระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศ เพื่อปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม ควบคุมการใช้ไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่อาคาร หรือการควบคุมการใช้น้ำ ซึ่งลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการซ่อมบำรุงที่ไม่จำเป็น ส่งผลให้ภาพรวมของธุรกิจดูเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ใช้ Smart Retail
ในปัจจุบัน กิจการหลายกิจการได้มีการนำเทคโนโลยี Smart Retail เข้ามาปรับใช้กับระบบธุรกิจมากขึ้น ดังนี้
ระบบจ่ายเงินไร้คนขาย (Cashierless Checkout)
Amazon Go เป็นร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก ภายใต้คอนเซปต์ Just Walk Out คือ เป็นร้านค้าอัจฉริยะที่ไร้พนักงานเก็บเงิน และไม่มีการใช้เงินสด เพียงแค่ลูกค้าไปที่ร้านพร้อมสมาร์ตโฟนที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน Amazon Go สำหรับสแกน QR Code เพื่อเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการ เมื่อซื้อเสร็จ ก็สามารถเดินออกจากร้านได้เลย โดยที่ต้องเสียเวลารอคิวจ่ายเงิน เพราะระบบจะตัดเงินจากบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารที่ผูกกับ Amazon ตามยอดสินค้าที่ซื้อให้โดยอัตโนมัติ
กระจกอัจฉริยะ (Smart Mirrors)
แบรนด์ Rebecca Minkoff เป็นแบรนด์แฟชั่นสัญชาติอเมริกัน ที่จำหน่ายทั้งเครื่องประดับและเครื่องแต่งกายหลายประเภท ที่ได้เปลี่ยนจากระบบร้านค้ารูปแบบเดิม ที่ลูกค้าต้องถอดและเปลี่ยนเสื้อผ้าในห้องลอง ที่บางครั้งต้องใช้เวลานานและสร้างความอึดอัดที่ต้องเปลี่ยนชุดบ่อยๆ ให้กลายเป็นร้านค้าอัจฉริยะ ด้วยการใช้เทคโนโลยี AR (Augmented reality) ที่เป็นเทคโนโลยีโลกเสมือนที่ผสมผสานกับโลกจริงเข้าด้วยกัน ให้อยู่ในรูปแบบกระจกอัจฉริยะ หรือ AI แนะนำสินค้า เพียงแค่สัมผัสหน้าจอเพื่อแสดงผลเสมือนการใส่จริงโดยที่ไม่ต้องสวมใส่เพื่อลองเสื้อผ้า เพื่อให้ลูกค้าได้ดูว่าสินค้าเหมาะกับตัวเองมากน้อยเพียงใด ซึ่งช่วยลดการเสียเวลาโดยไม่จำเป็น และยังช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในครั้งต่อไป
หุ่นยนต์ผู้ช่วย (Robot Assistants)
ในห้างค้าปลีกของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคโนโลยีทันสมัยอย่างหุ่นยนต์ผู้ช่วย Lowe’s (โลว์บ็อต) มาช่วยในการบริการลูกค้าภายในห้าง เพื่อเปลี่ยนจากร้านธรรมดา ให้กลายเป็นร้านค้าปลีกอัจฉริยะ โดยหุ่นยนต์ Lowe’s หน้าที่คอยช่วยเหลือลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ทั้งการอัปเดตโปรโมชันและกิจกรรมต่างๆ ภายในห้าง คอยช่วยแนะนำสินค้า และค้นหาสินค้าให้กับลูกค้าที่ต้องการ ภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น ลูกค้าต้องการเครื่องมือช่าง แต่ไม่รู้ว่าสินค้าชิ้นอยู่ตรงไหน ระบบของ Lowe’s จะประมวลผล เพื่อแสดงตำแหน่งของสินค้า พร้อมทั้งพาลูกค้าไปยังชั้นวางสินค้าที่ต้องการ นอกจากนี้ หุ่นยนต์ผู้ช่วย Lowe’s ยังช่วยพนักงานภายในร้านทั้งการเช็กสต๊อกสินค้า การจัดการสินค้า เพื่อให้พนักงานสามารถจัดการสินค้าได้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น
ป้ายราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shelf Labels)
แบรนด์ Kroger เป็นห้างค้าปลีกขนาดใหญ่สัญชาติอเมริกัน ที่มีร้านค้าและห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง ได้ปรับเปลี่ยนป้ายบอกราคาบนชั้นวางสินค้าแบบเดิม ให้กลายเป็นโครเกอร์เอดจ์ (Kroger Edge) ที่เป็นป้ายแสดงผลดิจิทัล สำหรับแสดงข้อมูลราคาสินค้า บางครั้งอาจมี AI คอยช่วยแนะนำสินค้า เช่น การแนะนำสารอาหารที่จำเป็นต่อวัน แนะนำคุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็นต่อสุขภาพ บอกเกี่ยวกับส่วนผสมสำหรับคนที่แพ้อาหาร รวมถึงแสดงโปรโมชั่น คูปองส่วนลดสำหรับลูกค้าที่เป็นสมาชิก
ชั้นวางสินค้าอัจฉริยะ (Smart Shelves)
ยุคปัจจุบัน ได้มีการปรับเปลี่ยน และพัฒนาหลักสูตรที่มีการเล็งเห็นถึงความสำคัญ และได้นำมาประยุกต์ใช้ด้วยระบบ AI ในระดับอุดมศึกษาถึง 4 กลุ่มสาขาวิชา คือ กลุ่มคณิตศาสตร์ และสถิติ กลุ่มวิทยาศาสตร์ข้อมูล และวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มมนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์ และกลุ่ม AI Cluster ซึ่งผู้เรียนทุกคนสามารถนำความรู้เรื่องปัญญาประดิษฐ์ไปปรับใช้ และพัฒนาให้เกิดงานที่มีความสร้างสรรค์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างภาพศิลปะผ่านการประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ การสร้างแชตบอต การจัดการเรียนรู้ การสร้างคลิปวิดีโออัตโนมัติ
นอกจากนี้ ผู้เรียนยังสามารถนำความรู้ไปต่อยอดเส้นทางสู่อาชีพที่มีการการประยุกต์ใช้ AI ด้านการศึกษาได้ และ AI ไม่ได้สร้างประโยชน์ต่อผู้เรียนเท่านั้น แต่ครูผู้สอนยังสามารถพกติดเป็นอาวุธแห่งความรู้ ที่สามารถเตรียมความพร้อม เพื่อใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพแก่ผู้เรียนได้
เทคโนโลยี AR สำหรับลองสินค้า (AR Try-On)
Sephora เป็นร้านเครื่องสำอาง ที่รวบรวมแบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำจากแบรนด์ดังทั่วโลกมาไว้ในที่เดียว ที่เป็นอีกหนึ่งร้านค้าอัจฉริยะ ที่ได้มีการนำระบบ AR (Augmented Reality) หรือการลองสินค้าเสมือนจริง ให้มาอยู่ในรูปแบบแอปพลิเคชัน Sephora Visual Artist เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถลองเครื่องสำอางต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องไปลองที่ร้าน มีรูปแบบการทำงาน คือ ให้ผู้ใช้งานอัปโหลดภาพใบหน้าของตนเข้าสู่ระบบ สำหรับการประมวลผลของผลลัพธ์ใบหน้า เพื่อให้แนะนำเฉดสีเครื่องสำอางที่เหมาะกับใบหน้าของผู้ใช้งานมากที่สุด และระบบ AI จะแนะนำสินค้าที่มีอยู่ในร้านเพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกซื้อได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องไปที่ร้าน